“Re-Check กระแสความนิยมกีฬาฟุตบอลกัเยาวชน”
กระแสความนิยมกีฬาฟุตบอลต่างประเทศและในประเทศ สูงอย่างต่อเนื่องในบ้านเราสังคมรับรู้ชื่อเสียง รายได้ความหอมหวลจากการเป็นนักฟุตบอลอาชีพสร้างความฝันให้เด็กไทยมากมาย มุ่งมั่นอยากเป็นนักฟุตบอลอาชีพบ้าง บวกด้วยแรงสนับสนุนเต็มกำลังของผู้ปกครองยุคนี้อะคาเดมี่ฟุตบอลเด็ก เกิดขึ้นมากมายทั่วประเทศรองรับเด็กๆ ที่มาเรียนฟุตบอลตั้งแต่ 7-15 ขวบ อย่างต่อเนื่องมากมายทุกปี
การพัฒนาทรัพยากรนักฟุตบอล ตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นเรื่องจำเป็น ที่วงการฟุตบอลสากลทั่วโลกให้ความสำคัญ
แต่น่าเสียดายว่าเด็กไทยจำนวนมากไปได้ไม่สุดทาง ด้วยปัจจัยหลากหลาย
เช่นหยุดพัฒนาพื้นฐาน เดินสายแข่งถี่เกินไปบาดเจ็บเรื้อรัง ตั้งแต่เป็นเยาวชนร่างกายแกร็นหมดแรงบันดาลใจ เพราะประสบความสำเร็จมากมายในระดับเยาวชนไปแล้วไม่สนใจเรียน ผลการเรียนย่ำแย่สิ่งล่อลวงต่างๆ ที่เข้ามาหาเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นความท้อแท้ฯลฯ
บ้านเราผู้ปกครองจำนวนมาก อาจมีมายาคติว่าเด็กต้องประสบความสำเร็จเร็วๆ
เพื่ออยู่ในสายตาของโค้ชหรือสโมสรดังๆ เพื่อจับจองโอกาสเข้าไปเป็นนักฟุตบอลอาชีพได้ง่ายขึ้น
ส่วนผู้ฝึกสอนต่างๆ ก็มีแรงกดดันต้องสร้างชื่อเสียงให้ต้นสังกัด หรือชื่อเสียงตัวเองเพื่อการันตีงานและรายได้ให้มั่นคง
นักกีฬาเยาวชนเก่งๆ จึงถูกใช้งานมากกว่าถูกปกป้อง แทนที่ได้พัฒนาไปตามวัยที่สมควร
คำถาม แนวทางแก้ปัญหา มากมายถูกนำเสนอ แต่เกาไม่ถูกที่คัน
เพราะวิธีคิด วิธีการปฏิบัติในไทย ยังยากที่จะจัดการได้ตามสากลประเทศที่มีมาตรฐานชัดเจนที่มีการลงมือปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำกับไว้มายาวนานต่อเนื่องแล้ว
โดยมีการขึ้นทะเบียนนักฟุตบอลตั้งแต่ระดับเยาวชน ตามกฎฟีฟ่า มีการกำกับตรวจสอบติดตามได้ ต้องมีทั้งผู้ปกครองที่รับรอง ทั้งเรื่องการเรียนภาคบังคับของเด็ก รวมทั้งที่ตั้งอคาเดมี่ซ้อมฟุตบอล ต้องอยู่ห่างจากบ้านพักหรือโรงเรียนของนักฟุตบอลเยาวชน ไม่เกินระยะทางที่ฟีฟ่าจำกัดไว้
ผู้ฝึกสอนฟุตบอลในอคาเดมีต้องเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์โดยผ่านการรับรองจากองค์ฟุตบอลของทวีปหรือประเทศนั่นๆ ในรูปของ License.
จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้ได้อย่างต่อเนื่องตามที่สากลเขาทำกัน ใช้ทรัพยากรเงินและเวลาอย่างมากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ทำแนวทางสากลได้ใกล้เคียงต่อเนื่องในสองทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวทรัพยากรนักฟุตบอลรุ่นเยาว์ทั่วประเทศ ป้อนสู่ระดับอาชีพและทีมชาติได้อย่างยั่งยืน